ความหมายของสถิติ (Statistics)
สถิติ คือ การรวบรวมวิธีการที่ช่วยให้เราอธิบายสรุปตีความและวิเคราะห์ข้อมูล
การสรุปจากข้อมูลมีความสำคัญในการวิจัย [1]
ตัวอย่างเช่น
นักวิจัยมีความสนใจว่าบุคลิกของครูมีผลต่อผลการเรียนของนักเรียนหรือไม่
การคิดค้นสูตรปุ๋ยใหม่ที่ใส่ให้พืชเป็นอย่างไร การคิดค้นยาตัวใหม่เพื่อรักษาโรคเบาหวาน
ระบบการเมืองส่งผลต่อนโยบายทางการศึกษาอย่างไร
ประเภทของสถิติ
1. สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) เป็นการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล
และอธิบาย
ลักษณะข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การวัดการกระจาย ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
การนำเสนอในรูปตาราง กราฟลักษณะต่างๆ โดยศึกษาจากทุกๆ หน่วยหรือทุกสมาชิกของประชากรเป้าหมาย
สรุปและแปลความหมายเฉพาะภายในกลุ่มของประชากรเป้าหมาย เช่น
ศึกษาคะแนนวิชาภามาอังกฤษของนักศึกษาครุศาสตร์ไฟฟ้าs
ห้อง ก ทุกคนด้วยค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และอธิบายลักษณะ คะแนนเฉพาะของห้อง ก เท่านั้น
2. สถิติอ้างอิง (Inferential Statistics) หรือ อนุมานสถิติ
เป็นสถิติที่มุ่งศึกษาและอธิบายลักษณะต่างๆ
ของกลุ่มประชากรเป้าหมาย
โดยใช้ข้อมูลจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแล้วใช้วิธีการประมาณค่าหรือทดสอบสมมุติฐานเพื่ออธิบาย หรือ
สรุปผลการวิเคราะห์ ข้อมูลไปยังกลุ่มประชากร เช่น เมื่อสุ่มตัวอย่างนักศึกษาครุศาสตร์จำนวน 100 คน
มาทดสอบวิชาภาษาอังกฤษ แต่การสรุปผลจะอ้างอิงไปยังประชากรนักศึกมาครุศาสตร์ทุกคน การสรุปอ้างอิง ใช้วิธีการ 2
แบบ
คือ (1) การประมาณค่า (Estimation) วิธีประมาณค่าพารามิเตอร์ เช่น ประมาณค่า µ ด้วยค่า σ2 หรือประมาณค่า
ด้วยค่า
S2 (2) การทคสอบสมมุติฐาน (Testing Hypothesis) เช่น การทคสอบค่าที (t-test)
สถิติที่ใช้อ้างอิง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สถิติพาราเมตริกและสถิตินอนพาราเมตริก
สถิติพาราเมตริก (Parametric Statistics)
สถิติพาราเมตริก (Parametric Statistics) คือ สถิติที่ต้องอ้างอิงข้อตกลงเบื้องต้น (Basic Assumption)
โดยกำหนดลักษณะเฉพาะของค่าพารามิเตอร์ และลักษณะการแจกแจงของกลุ่มประชากรที่ได้สุ่มตัวอย่าง
กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับค่าพารามิเตอร์ และการแจกแจงของกลุ่มประชากร ได้แก่
- กลุ่มประชากรของข้อมูลที่ได้รับการสุ่มตัวอย่างมานั้นมีการแจกแจงเป็นโค้งปกติ
- ความแปรปรวนของกลุ่มประชากรทุกกลุ่มต้องเท่ากัน
- ข้อมูลแต่ละตัวมีความเป็นอิสระต่อกันทั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม
- ข้อมูลที่จะใช้คำนวณด้วยสถิติพาราเมตริกต้องเป็นข้อมูลในระดับอันตรภาค (Interval Data) หรือ อัตราส่วน
(Ratio Scale)
การทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติพาราเมตริกจึงต้องพิจารณาถึงความสอดคล้องของลักษณะค่าพารามิเตอร์และการแจกแจงของกลุ่มประชากรเป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้นที่กำหนด
สถิตินอนพาราเมตริก (Non-Parametric Statistics)
สถิตินอนพาราเมตริก (Non-Parametric Statistics)
คือสถิติอ้างอิงค่าที่คำนวณจากกลุ่มตัวอย่างไปหาค่าพารามิเตอร์ซึ่งเป็นค่าของกลุ่มประชากร
โดยไม่มีการกำหนดลักษณะเฉพาะของค่าพารามิเตอร์
และการแจกแจงของกลุ่มประชากรข้อมูลที่ได้รับการสุ่มตัวอย่างมา
จึงไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงลักษณะการแจกแจงที่เป็น โค้งปกติของกลุ่มประชากร
สถิตินอนพาราเมตริกสามารถใช้วิเคราะห์ข้อมูลชนิดนามบัญญัติ (Nominal Data) และข้อมูลชนิดเรียงอันดับ
(Ordinal Data) ได้
[2]
เอกสารอ้างอิง
- Christian Heumann , Michael Schomaker , Shalabh, 2022, Introduction to Statistics and Data Analysis
(2nd edition), Springer.
- สุมาลี จันทร์ชลอ, 2547, สถิติ (Statistics), ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ, กทม.