มาตรวัดข้อมูล (Scales)
- หน้าแรก
- Scales
มาตรานามบัญญัติ (Nominal scale) คือ
ตัวแปรไม่สามารถเรียงลำดับค่าของตัวแปรได้ จะแบ่งเป็นประเภทออกจากกันเป็นกลุ่ม
จะบอกความมากน้อยไม่ได้
เช่น เพศของบุคคล (ชาย-หญิง) หรือ สถานะการสมัคร (รอดำเนินการ-ไม่รอดำเนินการ)
สถิติที่ใช้ Non-Parametric, ฐานนิยม (Mode) ร้อนละ (Percent) ความถี่ (Frequency)
สถิติที่ใช้ Non-Parametric, ฐานนิยม (Mode) ร้อนละ (Percent) ความถี่ (Frequency)
มาตราเรียงลำดับ (Ordinal scale)
แบ่งเป็นกลุ่มและสามารถเรียงลำดับค่าของตัวแปรได้ อย่างไรก็ตาม
ความแตกต่างระหว่างกลุ่มเหล่านี้ไม่สามารถตีความได้อย่างมีความหมาย ตัวอย่างเช่น
ค่าที่เป็นไปได้ของระดับการศึกษา (ไม่มี - การศึกษาระดับประถมศึกษา - มัธยมศึกษา -
ระดับมหาวิทยาลัย)
สามารถเรียงลำดับได้อย่างมีความหมาย แต่ความแตกต่างระหว่างค่าเหล่านี้ไม่สามารถตีความได้
ในทำนองเดียวกัน ความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ (ไม่พอใจ-พอใจ-พอใจมาก)
เป็นตัวแปรลำดับเนื่องจากค่าที่ตัวแปรนี้รับได้สามารถเรียงลำดับได้ แต่ความแตกต่างระหว่าง “ไม่พอใจ-
พอใจ” และ “พอใจ-พอใจมาก” ไม่สามารถเปรียบเทียบกันเป็นตัวเลข ตัวอย่าง ขนาดของเบอร์รองเท้า
ตำแหน่งของอาชีพใดอาชีพหนึ่ง
สถิติที่ใช้ Percentile, Spearman Rank, Median
สถิติที่ใช้ Percentile, Spearman Rank, Median
มาตราอันตรภาค (Interval scale)
คือ เป็นการวัดโดยการแบ่งค่าของตัวแปรที่ศึกษาออกเป็นช่วงๆ แต่ละช่วงนั้นมีขนาดเท่ากัน
สามารถนำค่าของตัวแปรมาบวก-ลบ กันได้ ข้อมูลที่มีการวัดระดับ
อันตรภาคเป็นข้อมูลที่มีลักษณะจำแนกกลุ่ม
สามารถเรียงอันดับความมากน้อย มีช่วงของความแตกต่างแต่ละช่วงเท่ากัน มีศูนย์สมมุติ หรือศูนย์เทียม
เช่น
นักศึกษาสอบได้คะแนนศูนย์ ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่ได้มีความรู้ในวิชานั้น ตัวอย่างของข้อมูลอันตรภาค
เช่น คะแนนสอบ ปีปฏิทิน อุณหภูมิ เป็นต้น
สถิติที่ใช้ สถิติ Parametric, F, t, Z r
สถิติที่ใช้ สถิติ Parametric, F, t, Z r
มาตราอัตราส่วน (Ratio scale)
คือ เป็นการวัดที่แบ่งช่วงการวัดตัวแปรแต่ละช่วงเท่ากันอย่างแท้จริง
มีช่วงของความแตกต่างแต่ละช่วงเท่ากัน มีศูนย์แท้ซึ่งเป็นศูนย์สมบูรณ์ (Absolute Zero) คือ ค่าศูนย์
หมายถึงไม่มีอะไรเลย
ข้อมูลซึ่งมีการวัดระดับอัตราส่วนเป็นข้อมูลที่มีลักษณะจำแนกกลุ่มและบอกความมากน้อยได้
สามารถนำคำของตัวเปรมาบวก ลบ คูณ หารได้ ข้อมูลประเกทนี้สามารถเปรียบเทียบในเชิงอัตราส่วนได้ เช่น
น้ำหนักผลไม้คิดเป็นกิโลกรัม ส้ม 2 กิโลกรัม กับมะม่วง 4 กิโลกรัม มะม่วงหนักเป็น 2 เท่าของส้ม
ตัวอย่างของข้อมูลอัตราส่วน ได้แก่ จำนวน เวลา ระยะทาง น้ำหนัก ส่วนสูง เป็นต้น
สถิติที่ใช้ ใช้สถิติได้ทุกประเภท
สถิติที่ใช้ ใช้สถิติได้ทุกประเภท
จากรูปสรุปการแบ่งชนิดของตัวแปร