Measures

  1. หน้าแรก
  2. Measures of Central Tendency
Measures of Central Tendency and Dispersion
การวัดแนวโน้มเข้าสู่ศูนย์กลาง (Measures of Central Tendency)
การวัดแนวโน้มเข้าสู่ศูนย์กลาง (Measures of Central Tendency) คือ ตัวเลขตัวแทนที่แสดงถึง "ความเป็นกลาง" ของชุดข้อมูลทั้งหมด การวัดแนวโน้มกลางมีสามแบบ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (mean) ค่ามัธยฐาน (median) และค่าฐานนิยม (mode)

ตัวแปรเชิงคุณภาพ (Qualitative Variables) Vs ตัวแปรเชิงปริมาณ (Quantitative Variables)

  • ค่าเฉลี่ย (Mean)หรือค่ากลางเลขคณิต (Arithmetic Mean) ค่าเฉลี่ยหรือมัชฌิมเลขคณิต หมายถึง ค่าที่ได้จากการนำข้อมูลทั้งหมดมารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวนข้อมูลทั้งหมด การวัดแนวโน้มกลางที่ใช้กันทั่วไปที่สุดคือค่าเฉลี่ย หรือค่าเฉลี่ยเลขคณิตของกลุ่มคะแนนการหาค่าเฉลี่ยคำนวณได้จากสูตร
    \[\bar{x} = \frac{\sum X}{N}\]

    โดยที่ \( \bar{X} \) คือค่าเฉลี่ย

    \( N \) คือจำนวนข้อมูลทั้งหมด

    \( X \) ค่าของข้อมูลแต่ละตัว

    \( \sum \) แสดงถึงสัญลักษณ์ของ "ผลรวมของ"


    การนำไปประยุกต์ใช้
    ค่าเฉลี่ย (Mean) เป็นค่าที่ใช้กับข้อมูลที่มีการวัดระดับอันตรภาค (Interval Data) หรืออัตราส่วน (Ratio Data) การคำนวณค่าเฉลี่ยใช้ค่าของข้อมูลทุกค่าที่มีอยู่ในข้อมูลปกติ ค่าเฉลี่ยมีความคลาดเคลื่อนน้อยกว่าสถิติที่ใช้วัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางตัวอื่น จึงเป็นค่าเฉลี่ยที่มีความคงที่ในการวัดมากที่สุด แต่ในกรณีที่บางตัวมีค่าแตกต่างหรือเบี่ยงเบนมาก ๆ ปนอยู่ด้วย จะทำให้ค่าที่คำนวณได้ ต่างไปจากที่ควรจะเป็น หากข้อมูลที่มีลักษณะดังกล่าว จึงควรใช้ค่าสถิติตัวอื่นแทน
  • มัธยฐาน (Median) มัธยฐาน หมายถึง ค่าของคะแนนหรือข้อมูลที่อยู่ตรงกลาง มัธยฐานคือคะแนน ณ ตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ ที่ 50 ซึ่งจะมี 50% ของจำนวนทั้งหมดมีค่าสูงกว่า และจำนวนอีก 50% มีค่าต่ำกว่า สัญลักษณ์ที่มักใช้คือ Mdn หรือ Me การคำนวณมัธยฐานเป็นการหาค่าโดยใช้คะแนนกึ่งกลางซึ่งแบ่งครึ่งบนและครึ่งล่างเป็น 2 ส่วน ในกรณีที่ข้อมูลเป็นจำนวนคู่ ค่ามัธยฐานคือ ค่าผลรวมของคู่ตรงกลาง หาร 2
    \[ \tilde{x}_{0.5} = \begin{cases} x_{\frac{(n+1)}{2}} & \text{if } n \text{ is odd} \\ \frac{1}{2}(x_{\frac{n}{2}} + x_{\frac{n}{2} + 1}) & \text{if } n \text{ is even} \end{cases} \] การนำไปประยุกต์ใช้
    มัธยฐาน (Median) เป็นค่าใช้กับข้อมูลที่ได้จากการวัดในมาตราเรียงอันดับ (Ordinal Data) ข้อมูลอันตรภาค และข้อมูลอัตราส่วนในกรณีของข้อมูลที่มีค่าบางค่าแตกต่างจากกลุ่มมาก การใช้ค่าเฉลี่ยอธิบายอาจทำให้ค่าแตกต่างจากที่ควรเป็น จึงควรอธิบายข้อมูลด้วยค่ามัธยฐาน เนื่องจากคำนวณโดยพิจารณาจากตำแหน่ง หรืออันดับซึ่งคะแนนที่เยงเบนมากอาจไม่มีผลกระทบต่อตำแหน่ง ค่ามัธยฐานมีความคงที่น้อยกว่าค่าเฉลี่ย แต่มีความคงที่มากกว่าค่าฐานนิยม ใช้ประมาณด่าพารามิเตอร์ใกล้เคียงน้อยกว่าค่าเฉลี่ย
  • ฐานนิยม (Mode) ฐานนิยม (Mode) คือ ค่าที่ซ้ำกันมากที่สุดหรือมีความถี่สูงสุด สัญลักษณ์ที่ใช้ คือ Mo ฐานนิยมเป็นการอธิบายลักษณะของข้อมูลชุดหนึ่งๆ ด้วยค่าจากข้อมูลที่มีจำนวนซ้ำมากที่สุด ซึ่งบางชุดอาจมีจำนวนซ้ำสูงสุดเพียงค่าเดียว แต่ข้อมูลบางชุดอาจมีจำบวนซ้ำหลายคำ หรือบางชุดอาจไม่มีจำนวนช้ำเลย ซึ่งจะไม่สามารถบอกค่าฐานนิยมได้

    ฐานนิยม (Mode) ใช้กับตัวแปรทุกประเภทซึ่งจำนวนค่าของตัวแปรที่มีนั้นไม่แตกต่างกันมาก หากสรุปข้อมูลต่อเนื่องเป็นกลุ่มก็สามารถใช้ฐานนิยมได้เช่นกัน ประเภทข้อมูลที่ใช้ได้คือ Nominal, ordinal, interval, หรือ ratio data

สรุปการวัดแนวโน้มเข้าสู่ศูนย์กลาง (Measures of Central Tendency)

เรื่อง ประเภทของการวัดแนวโน้มเข้าสู่ศูนย์กลาง
Mean Median Mode
คำนิยาม ค่าเฉลี่ยเลขคณิต คะแนนกลางในการกระจายคะแนนจากสูงสุดไปต่ำสุดหรือต่ำสุดไปสูงสุด คะแนนที่เกิดขึ้นด้วยความถี่สูงสุด
ใช้กับข้อมูล Interval หรือ ratio data Ordinal, interval, หรือ ratio data Nominal, ordinal, interval, หรือ ratio data
ข้อควรระวัง ไม่เหมาะสำหรับใช้กับการแจกแจงที่มีคะแนนแตกต่างกับข้อมูลอื่นมาก ๆ เพียงไม่กี่ค่า อาจไม่ใช่การวัดแนวโน้มกลางที่เชื่อถือได้